เลือก Keyword ในการทำ Google AdsWord อย่างไร เรามีคำตอบ…
Posts Tagged with สื่อโฆษณาออนไลน์
การทำ Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จ
การทำ Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จ
Digital Transformation ตอนนี้เป็นคำยอดฮิตในเกือบ ๆ ทุกองค์กรที่โดนกระแส Digital เข้าถาโถมเข้าใส่ และมีความกลัวที่วันหนึ่งที่องค์กรตัวเองจะทำการปรับตัวไม่ทันต่อการมาถึง Digital ที่จะกลายเป็นเรื่องปกติในทุกองค์กร จึงมีความคิดรึเริ่มที่อยากจะทำ Digital Transformation แต่ทำไมทำแล้วกลับกลายเป็นว่าไปไม่ถึงฝัน แถมยังทำให้องค์กรนั้นติดหล่มไปได้ไม่ถึงในแม้ว่าจะลงทุนมากมายลงไป
ทั้งนี้สิ่งที่หลาย ๆ องค์กรเริ่มทำ Digital Transformation นั้นแทนที่จะเริ่มต้นได้ถูกทาง กลับกลายเป็นว่าเริ่มเดินในทางที่ผิดก่อนเลย เพราะเข้าใจว่าการทำ Digital Transformation คือการมีและใช้ Digital ในองค์กรทำให้ทุก ๆ องค์กรที่ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง Digital Transformation นั้นต่างทุ่มทุนอย่างมากมายลงไปในการซื้อหรือเช่าซื้อเครื่องมือต่าง ๆ มาจำนวนมากมายเพื่อทำงาน แถมหลาย ๆ ที่ยังทำการซื้อเครื่องมือซ้ำซ้อน หรือซื้อเครื่องมือที่เกินความจำเป็นตัวเองอีก ซ้ำร้ายที่สุดคือการคิดว่าการสร้าง Product ทาง Digital คือการทำ Digital Transformation จึงทำการออกผลิตภัณฑ์มากมาย แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไม่ได้ตอบโจทย์ผู้บริโภค แถมบางทีทำออกแล้วรูรั่วเพียบ ทำให้ Hacker ต่างเจาะเข้าไปฉกฉวยผลประโยชน์จากผลิตภัณฑ์นั้นได้ ซึ่งองค์กรนั้นต้องเข้าใจก่อนว่าองค์ประกอบสำคัญของ Digital Transformation นั้นคืออะไร
องค์ประกอบที่สำคัญแรกของ Digital Transformation ที่สำคัญที่สุดคือเรื่อง Mindset ซึ่งต้องเป็น Mindset ที่ถูกต้องมาตั้งแต่ผู้บริหารองค์กร จนถึง Staff ที่เป็นหน้าบ้านขององค์กร เพราะ Mindset นั้นเป็นพื้นฐานของการคิดว่า Digital นั้นต่างอย่างไรจาก Real World ที่เราทำการตลาดกันอยู่ และเราจะเข้าถึงคนเหล่านี้ได้อย่างไรผ่าน Digital ที่กลายเป็นโลกอีกโลกหนึ่งที่ซ้อนทับกับโลกจริง และผู้คนมี touchpoint และ interaction มากมายที่อยู่ในนั้น ซึ่งเมื่อ Mindset นี้เองจะทำให้คนในองค์กรนั้นสามารถเรียนรู้เรื่องราวและความเคลื่อนไหวของ Digital ได้อย่างมากมาน และต่อยอดสิ่งที่มีอยู่จาก Mindset นั้นไปได้ว่าอะไรจำเป็นต้องใช้หรือไม่ต้องใช้ในการทำ Digital และจะหาประโยชน์สูงสุดในการทำ Digital Transformation ได้อย่างไร
สิ่งสำคัญต่อมาคือการทำการสื่อสารภายในและเข้าใจปัญหาที่ Staff ที่เกี่ยวข้องกำลังจะเจอหรือเผชิญอยู่แล้ว ทั้งนี้หลายองค์กรนั้นทำ Digital Transformation นั้นเกิดการทำ Internal Communication นั้นไม่ดี ทำให้พนักงานต่าง ๆ นั้นต่างรู้สึกเกิดภาระการทำงานที่เพิ่มขึ้น หรือรู้สึกว่าจะเปลี่ยนไปทำไม ทำแบบนี้ก็ดีอยู่แล้ว ทั้งนี้หากผู้บริหารสั่งลงมา แต่พนักงานไม่ได้มีความเข้าใจ ก็ยากที่จะเดินหน้าต่อไปได้ นอกจากนี้คือการทำ Digital Transformation นั้นผู้บริหารบางทีต้องการความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว แต่ลืมคำนึงถึงคนที่ยังไม่ได้เข้าใจเรื่องพวกนี้และต้องทำการปรับเปลี่ยนตาม ทำให้ปัญหาที่พนักงานกำลังเผชิญนั้นผู้บริหารไม่ได้รับรู้ด้วย และไม่เกิดการแก้ปัญหานั้นขึ้นมา ซึ่งท้ายที่สุดก็พนักงานจะคิดว่าองค์กรนั้นไม่ใส่ใจในปัญหาที่พนักงานเผชิญ และเริ่มถอยหนีจากการที่ต้องทำ Digital Transformation นั้น แล้วท้ายที่สุดก็ส่งผลให้ Digital Transformation นั้นไม่เกิดขึ้น
ทางแก้ที่จะเกิดขึ้นได้เพื่อการทำ Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จคือการโฟกัสใส่ใจในเรื่อง Mindset ของคนที่จะต้องเปลี่ยนและทำการสื่อสารกับพนักงานให้เข้าใจกันว่าองค์กรนั้นกำลังจะมุ่งไปทางไหน และพนักงานนั้นสำคัญอย่างไรต่อองค์กร ผู้บริหารนั้นควรเริ่มลงไปทำงานขับเคลื่อนองค์กรอย่างใกล้ชิดกับพนักงาน ทำให้พนักงานนั้นรู้สึกว่าไม่ได้โดยเดียวในการเปลี่ยนแปลง และมีผู้บริหารนั้นคอยมารับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่าง ๆ ทำให้เกิดการตัดสินใจในการแก้ปัญหาได้อย่างทันที ทั้งนี้สิ่งที่ดีที่สุดจากการที่ผู้บริหารลงมาในสนามเองคือการเห็นรูรั่วต่าง ๆ ที่สามารถอุดได้ สามารถสร้างวัฒนธรรมการเสนอความคิดเห็นจากพนักงานขึ้นไปยังผู้บริหารได้ขึ้น ซึ่งนี้จะทำให้องค์กรนั้นสามารถเห็นได้ว่าพนักงานคนไหนนั้นมีความสามารถและจะกลายเป็นกำลังสำคัญขององค์กรได้ในอนาคต
นอกจากนี้กลายเปลี่ยนแปลงสำคัญที่จะทำให้ Digital Transformation นั้นสำเร็จได้คือการสร้างวัฒนธรรมองค์ที่เปิดโอกาสให้คนได้นำเสนอความคิดเห็นได้ กล้าที่จะแสดงออก และกล้าเสี่ยงที่จะล้มเหลวขึ้นมาเพื่อการเรียนรู้ ทั้งนี้หากซื้อเครื่องมือมาแต่วัฒนธรรมองค์กรยังเป็นแบบเดิมนั้น ก็ไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงให้สำเร็จได้ การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการทำงานขององค์กรนี้ และวิธีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรที่ง่ายคือการสื่อสารกับพนักงานในรายบุคคลและหาผู้นำที่จะเป็นคนดันวัฒนธรรมองค์นี้ขึ้นมา
ทั้งนี้การทำ Digital Transformation ไม่ใช่เรื่องการมีเครื่องมือ แต่เป็นความเข้าใจว่า Digital นั้นจะเข้ามาอยู่ในหัวของทุก ๆ คนในองค์กรได้อย่างไร อย่าไปโฟกัสที่เครื่องมือ แต่ให้โฟกัสที่คนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแทน ซึ่งหากเมื่อคนเข้าใจในเรื่องพวกนี้แล้ว การใช้เครื่องมือจะทำให้คุณติดปีกต่อไปได้ทันทีเลยทีเดียว
เรื่องเบสิคที่ต้องรู้เกี่ยวโฆษณาออนไลน์ผ่านวิดีโอ
เรื่องเบสิคที่ต้องรู้เกี่ยวโฆษณาออนไลน์ผ่านวิดีโอ
ในปีที่ผ่านมา การทำโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์วิดีโอนั้นถือว่ามีการขยับตัวค่อนข้างมาก หลายๆแบรนด์ทั้งใหญ่ทั้งเล็กเรียงแถวปล่อยโฆษณาทางวิดีโอออกมามากมาย เหตุผลหลักสืบเนื่องมาจากเทรนด์ของผู้บริโภคที่มีการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันผ่านเทคโนโลยีและสื่อออนไลน์มากขึ้น การเสพ content ของผู้บริโภคมีความต่างจากเดิม รายการทางทีวี นิตยสาร และวิทยุ ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคน้อยลง เพราะผู้บริโภคมีทางเลือกที่ให้ได้มากกว่าจากสื่อออนไลน์นั่นเอง
ด้วยเหตุนี้นักการตลาดจึงต้องปรับกลยุทธ์ในการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านสื่อดิจิทัลมากขึ้น เพราะสื่อดิจิทัลเป็นสื่อที่สามารถเปิดทางให้แบรนด์ได้ใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้นเช่นกัน จึงไม่แปลกใจว่า 2 ปีที่ผ่านมา หลายๆแบรนด์หันมาทำ Online Video Advertising แทนการทำ TVC หรือมีการวางกลยุทธ์ในการใช้ Online Video Advertising ร่วมกันเพื่อต่อยอดจากการทำ TVC ดังที่เราได้เห็นจากปีที่ผ่านมา ทั้งผลงานจากทั้งแบรนด์ใหญ่อย่าง ซัมซุง ยูนิลีเวอร์ ไทยประกันชีวิต คิงพาวเวอร์ และอีกหลายๆแบรนด์
Online Video Advertising จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญของการทำโฆษณาในวันนี้ และแน่นอนว่าผู้บริโภคคงไม่ได้ประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว นักการตลาดคงจะต้องเห็นอะไรบางอย่างที่ต่างจากสื่อเดิมๆ และฝั่งแบรนด์ก็น่าจะได้อะไรจากการทำ Online Video Advertising อย่างแน่นอน
Length – ไม่จำกัดความยาวของวิดีโอ จะ 15 วินาที 1 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ก็สามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของวิดีโอว่าน่าสนใจพอที่ผู้บริโภคจะยอมเสียเวลาให้กับวิดีโอของคุณหรือไม่
Engagement – ผู้บริโภคสามารถแสดงความรู้สึก และความคิดเห็นกับโฆษณาของเราได้ ทำให้แบรนด์สามารถเห็น feedback และสื่อสารกับผู้บริโภคได้ในทันที
Embedded – ใครก็สามารถช่วยเพิ่มยอดวิวของวิดีโอได้ด้วยการนำวิดีโอที่น่าสนใจของแบรนด์ไป Embedded หรือ Repost ทางช่องทางอื่น เช่น ทาง เว็บไซต์ และ บล็อก เป็นต้น
Anywhere, Anytime – เราสามารถเข้าถึง และผู้บริโภคสามารถชมวิดีโอโฆษณาของเราที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ ผ่านช่องทางที่สะดวกที่สุดในเวลานั้น ทั้ง Desktop, Smartphone และ Tablet
Analytics – เจ้าของวิดีโอสามารถตรวจสอบดูได้ว่ามีคนชมวิดีโอของเราเท่าไหร่ สถิติหลังบ้านจะแสดงให้เห็นว่า คนส่วนมากดูวิดีโอถึงนาทีที่เท่าไหร่ และกี่เปอร์เซ็นต์ที่ดูวิดีโอจบ
Reach & Targeting – เจ้าของวิดีโอสามารถกำหนดการเข้าถึงผู้บริโภคตามจำนวนที่ต้องการ และยังสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการรับชมวิดีโอได้ ด้วยการซื้อโฆษณาเพิ่มเติมกับทางเว็บไซต์วิดีโอที่มีอยู่ในตลาด
แนวทางพัฒนาธุรกิจของตนเองในโลกออนไลน์
แนวทางพัฒนาธุรกิจของตนเองในโลกออนไลน์
คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้การดำเนินธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ล้วนต้องไปเกี่ยวข้องกับโลกออนไลน์แทบจะทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง การสมัครสมาชิก การซื้อสินค้า การแลกเปลี่ยนข่าวสารและช่องทางการติดต่อกับผู้บริโภค การทำธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์ หรือแม้กระทั่งใช้เป็นที่ประชุมและส่งงานของพนักงานภายในบริษัท ซึ่งทุกอย่างที่กล่าวมาต่างเกิดขึ้นบนโลก Online แทบทั้งสิ้น แต่ก็ยังมีธุรกิจอยู่อีกบางส่วนที่ยังไม่ได้ก้าวเข้าไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบออนไลน์ สาเหตุหลักข้อหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือผู้ประกอบการยังไม่รู้แนวทางว่าจะพัฒนาธุรกิจของตนเองในโลกออนไลน์อย่างไร
สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการต้องทำหากคิดจะพัฒนาธุรกิจเข้าสู่ระบบออนไลน์ก็คือ การค้นหาจุดต่อยอดของธุรกิจให้เจอ โดยพิจารณาดูที่ตัวธุรกิจเดิมของผู้ประกอบการก่อนเป็นอันดับแรกว่ามีส่วนไหนที่จะสามารถนำมาต่อยอดได้ หรือต้องการเพิ่มเติมในส่วนไหนของธุรกิจ เช่น การเพิ่มยอดขายหรือการลดจุดอ่อน เป็นต้น เมื่อพบสิ่งที่ต้องการแล้วและเล็งเห็นว่าระบบออนไลน์สามารถเป็นคำตอบและช่วยผู้ประกอบการได้ และพัฒนาไปสู่ในขั้นตอนต่อไป
เมื่อผู้ประกอบการได้จุดต่อยอดจากขั้นตอนที่หนึ่งแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือผู้ประกอบการต้องค้นหาไอเดียความเป็นไปได้ในทางออนไลน์เพื่อช่วยส่งเสริมการทำธุรกิจ เช่น ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อสิ่งพิมพ์แต่ประสบปัญหายอดผู้อ่านลดลงในแต่ละเดือนจึงเพิ่มวิธีการสร้างเว็บไซต์เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้ามาดาวน์โหลดเพื่ออ่านแบบออนไลน์ และชำระเงินเป็นรายเดือนได้ หรืออีกตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการค้าผลไม้ส่งที่มีร้านตั้งอยู่ที่แถบชานเมืองประสบกับปัญหายอดขายตกลงเช่นกัน จึงสร้างเว็บไซต์ขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถสั่งสินค้าแบบออนไลน์ได้จึงเป็นวิธีการกระตุ้นยอดขายที่ดีอีกวิธีหนึ่ง เมื่อค้นพบแนวทางที่จะพัฒนาในโลกออนไลน์แล้วจึงเริ่มพัฒนาไปยังขั้นตอนถัดไป
เมื่อผู้ประกอบการนำจุดต่อยอดและแนวทางการพัฒนาบนโลกออนไลน์มาชนกันได้แล้ว ในขั้นตอนถัดไปก็คือ ผู้ประกอบการต้องหาคนจัดทำเว็บไซต์และวางระบบมาดำเนินการออกแบบและสร้างเว็บไซต์ให้ ซึ่งการคัดเลือกผู้ที่จะมาจัดทำเว็บไซต์และออกแบบให้ผู้ประกอบการต้องใช้วิจารณญาณในการไตร่ตรองให้มากเป็นพิเศษในเรื่องของฝีมือและความน่าเชื่อถือ เพราะคนที่จะมาทำเว็บไซต์และวางระบบให้กับผู้ประกอบการจะต้องเข้าใจในสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังต้องร่วมงานและประสานความร่วมมือในการทำงานกันอีกนานมาก จึงควรต้องพิจารณาในเรื่องของลักษณะนิสัยใจคอและผลงานที่ผ่านมาของผู้ทำเว็บไซต์และวางระบบด้วย
หลังจากที่ผู้ประกอบการได้สรุปงานไปยังผู้ออกแบบเว็บไซต์และวางระบบแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายก็คือติดตามผลสำเร็จของงาน เพราะงานที่เกี่ยวข้องกับเว็บไวต์ถือเป็นการรับงานที่ส่งต่อผ่านกันทางความคิดไม่ได้มีรูปแบบที่แน่นอนเหมือนการทำเอกสารสัญญา จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขกันในบางครั้งเพื่อให้ตรงกับสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการมากที่สุด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องติดตามความคืบหน้าของงานอยู่ตลอดเวลาจนไปถึงขั้นตอนสุดท้ายที่เว็บไซต์และระบบพร้อมที่จะใช้งานจริงแล้ว
ถึงแม้ผู้ประกอบการอาจจะยึดมั่นในอุดมการณ์ของตนอย่างชัดเจน ซึ่งนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นเรื่องที่ผิดแต่ประการใด แต่ในขณะเดียวกันการปรับตัวให้ทันกระแสสังคมนั้นก็มีส่วนช่วยพัฒนาองค์กรได้มาก ทางที่ดีผู้ประกอบการสามารถนำทั้งสองอย่างนั้นมาประยุกต์เข้าหากัน ไม่แน่ว่าโลกออนไลน์ที่ผู้ประกอบการเคยไม่หวั่นใจนั้น อาจกลายเป็นข่องทางที่สืบสานอุดมการณ์ของผู้ประกอบการให้คงอยู่ต่อไปก็เป็นได้